กทม.ยอมรับ จ่อเหมาเข่งยกสัมปทานรถไฟฟ้าให้ BTS 40 ปี พร้อมควักปีละ 💸 1,000 ล้านบาท 😱 ช่วยรับภาระเอกชนกดราคาค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาท 🚆 ด้าน รฟม.ทดสอบเดินรถถึงสถานีห้าแยกลาดพร้าวฉลุย
นายมานิต เตชอภิโชค กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และอดีตรองปลัดกทม. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเจรจากับบีทีเอสตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับผู้เดินรถรายเดิมคือ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือรถไฟฟ้า BTS ถึงแนวทางความเป็นไปได้ในการต่อขยายสัมปทานเดินรถทั้ง 2 สัญญาออกไปอีก 30 ปี
ทั้งนี้ ได้แก่สัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ขณะที่อีกสัญญาคือสัมปทานเดินรถส่วนต่อขยาย ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า โดยจะเริ่มนับสัญญาสัมปทานในปีแรกคือปี 2573 และหมดสัญญาในปี 2603 รวมระยะเวลาจากปัจจุบัน 2562 ทั้งสิ้น 40 ปี
โดยมีเงื่อนไขสำคัญในการแลกเปลี่ยน 3 ข้อ ประกอบด้วย
🚈1.ค่าโดยสารตลอดสายต้องไม่เกิน 65 บาท เช่น คูคต-สมุทรปราการ
นายมานิตกล่าวต่อว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นที่เอกชนยังไม่ยอมรับ พร้อมให้ กทม.ช่วยรับภาระค่าโดยสารที่เกินกว่าต้นทุน (Subsidy)
🚈2.BTS ต้องรับภาระทรัพย์สิน หนี้สิน และดอกเบี้ยของโครงการช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต รวมวงเงินทั้งสิ้น 1 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้ถือว่าเป็นหนี้สาธารณะของประเทศไปแล้ว เอกชนจึงจำเป็นต้องไปจ่ายคืนให้กระทรวงการคลัง
🚈3.ลงทุนค่าติดตั้งอาณัติสัญญาณในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย มูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท
“เงื่อนไขสำคัญของการเจรจาคือค่าโดยสารต้องไม่เกิน 65 บาท ตามนโยบายท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้แก่พี่น้องประชาชน” นายมานิตกล่าว
เขากล่าวอีกว่า สำหรับเงื่อนไขการ Subsidy ค่าโดยสารนั้น กทม.จะยื่นข้อเสนอในรูปแบบการให้ค่าอุดหนุนรายปี เพื่อชดเชยกับรายได้ที่ต่ำกว่าต้นทุนของการเดินรถ คาดว่าจะยื่นข้อเสนอค่าชดเชยที่ปีละ 1,000 ล้านบาท โดยเป็นงบประมาณของ กทม. มิใช่งบประมาณของชาติที่มาจากภาษีประชาชนทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม เรื่องความเดือดร้อนของประชาชนเกี่ยวกับคุณภาพบริการรถไฟฟ้าที่แชร์กันในโลกออนไลน์ เช่น ขบวนรถขัดข้องและรถเสียบ่อยตอนฝนตก เป็นต้น กทม.ได้ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวและมีการพูดคุยในเวทีประชุมเจรจา
ข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่
#รถไฟฟ้า #BTS #ค่าโดยสาร #กรุงเทพมหานคร