รถไฟฟ้าบีทีเอส
การกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เรียกเก็บโดยกรุงเทพมหานคร “ในส่วนต่อขยายสายสีเขียว”
เริ่มมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 2 มกราคม 2567 “ในเส้นทางที่มีการเปิดให้บริการฟรี”
ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท
- ตั้งแต่สถานีบางจาก – สถานีแบริ่ง และ สถานีสำโรง – สถานีเคหะฯ
- ตั้งแต่สถานีห้าแยกลาดพร้าว – สถานีคูคต
เก็บค่าโดยสาร 15 ตลอดสาย
ส่วนต่อขยายสายสีลม
- ตั้งแต่สถานีโพธิ์นิมิตร – สถานีบางหว้า (มีการเก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยายไปแล้ว)
- ตั้งแต่สถานีหมอชิต – สถานีอ่อนนุช และสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ – สถานีวงเวียนใหญ่
ยังคงเก็บค่าโดยสาร 17-47 บาทโดยอัตราค่าโดยสารของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว สูงสุดที่ 62 บาท
ขสมก.
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคมเปิดเผยว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานเตรียมของขวัญปีใหม่ 2567 เพื่อมอบให้กับพี่น้องประชาชนในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่ที่จะถึงนี้ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้จัดเตรียมของขวัญปีใหม่ ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้แนวคิด “Gifts : คมนาคมส่งความสุข 2567” ให้พี่น้องประชาชนเดินทางกลับบ้านและท่องเที่ยวอย่างมีความสุข สะดวก ปลอดภัย ทั้งนี้ กระทรวงเตรียมนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบรายละเอียดในวันที่ 26 ธันวาคม 2566
ซึ่งในส่วนของขสมก. จะทำการขยายเวลาการเดินรถเมล์ในเขตกรุงเทพฯ ในเส้นทางที่ผ่านสถานที่จัดงานสวดมนต์ข้ามปีและงานเคาน์ดาวน์ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดสระเกศ สนามหลวง วัดเบญจมบพิตร เซ็นทรัลเวิลด์ ไอคอนสยาม เมกาบางนา เอเชียทีค ซีคอนสแควร์ เป็นต้น รวมทั้งเปิดเส้นทางใหม่ 5 เส้นทาง เพื่อรองรับประชาชนที่พักอาศัยในเขตชานเมือง ดังนี้
สาย 4-22E (138 ทางด่วน) พระประแดง – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สาย 1-20E (510 ทางด่วน) มธ.ศูนย์รังสิต – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สาย 3-9E (45 ทางด่วน) หนามแดง – ท่าเรือสี่พระยา
สาย 2-20E (134 ทางด่วน) หมู่บ้านบัวทองเคหะ – หมอชิต 2
สาย 1-50 (168 เดิม) เคหะร่มเกล้า – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
แหล่งข่าว: BTS และ Bangkok Bus Club