รถไฟฟ้า BTS แจ้งปรับเวลาให้บริการ บีทีเอส (BTS) บีอาร์ที (BRT) และสายสีทอง แจ้งปรับเวลาให้บริการ ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ตอบรับนโยบายรัฐบาล และกทม. ตามเวลาดังนี้ สายสุขุมวิท เที่ยวแรก 05.15 น. สายสีลม เที่ยวแรก 05.30 น. เที่ยวสุดท้ายออกจากสถานีต้นทางเวลา 20.00 น. และจะสิ้นสุดที่สถานีปลายทางเวลา 21.00 น. หมายเหตุ: มีการจำกัดจำนวนผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวให้ไม่เกิน 50 % ของความจุ ข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่ 👈 #รถไฟฟ้า#บีทีเอส #BTS #BRT #กรุงเทพมหานคร
26/07/2021 คมนาคมฯ ปรับค่าโดยสารรถเมล์ใหม่ รมว.คมนาคม เปิดเผยเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 64 ถึงความคืบหน้าแผนฟื้นฟูกิจการของขสมก. ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องอัตราค่าโดยสารของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยมีนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (ด้านขนส่ง) เป็นประธานฯ เพื่อกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสาร ที่จะจัดนำมาใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล โดยจะกำหนดอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง หรือตามกิโลเมตร (กม.) ประกอบกับการคาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร ก่อนที่จะคำนวณเป็นค่าโดยสารที่แท้จริง นายสรพงศ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 64 ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบการเก็บอัตราค่าโดยสารตามที่แผนฟื้นฟู ขสมก. กำหนด (รถโดยสารปรับอากาศ) แบ่งเป็น 3 ประเภท 1.ตั๋วรายเที่ยว ราคา 15…
25/02/2021 สวัสดีปีใหม่ 2021 จากครอบครัว Moovit และแล้วช่วงเวลาแสนพิเศษของปีก็มาถึงอีกครั้ง ในปี 2021 เราจะขอนำทางคุณไปยังที่ต่างๆ ด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่มุมไหนของโลก 🌏 แต่ในขณะเดียวกัน อย่าลืมช่วยหันมานั่งรถขนส่งสาธารณะเวลาที่คุณเดินทางกันด้วยนะครับ 😉 เพราะถ้าเราร่วมมือกัน ปี 2021 ของเราจะเป็นปีที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้นครับ 🍀 This is how you can use Moovit wherever you go ขอให้คุณมีแต่ความสุขในปีใหม่นี้ 🥂🎆 อย่าลืมล่ะว่าเที่ยงคืนของปีใหม่ใกล้เข้ามาแล้ว – เช็คที่แอ็พของเราเพื่อการเดินทางที่ราบรื่นก่อนปี 2021 ได้เลย! ขอขอบคุณจากใจพวกเราทุกคนสำหรับปี 2020💖
28/12/2020 ตั๋วร่วมสะดุด! บอร์ดรฟม.ติงค่าปรับแพง รับบัตรข้ามระบบช้าข้ามปี รฟม.ตีกลับค่าปรับปรุงตั๋วร่วมเฟสแรก รับบัตรรถไฟฟ้าข้ามระบบติงสูงเกินไป สั่งต่อรอง BEM ใหม่ แฉวางแผนพัฒนาสองขยัก ต้องลงทุนซ้ำซ้อน ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ แนะปรับระบบเปิด (Open Loop) ไม่จำกัดรูปแบบจ่ายค่าตั๋ว ผู้ว่าการการรฟม. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพัฒนา”ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ” (AFC) ให้สามารถรองรับการใช้บัตรโดยสารข้ามระบบ (Interoperable Ticketing System)ว่า บอร์ดรฟม. ยังไม่อนุมัติกรอบวงเงินค่าปรับปรุงระบบหัวอ่านรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน โดยให้ รฟม.ทบทวนปรับลดวงเงิน และให้เจรจาต่อรองค่าปรับปรุงกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้ได้วงเงินที่ดีที่สุด ในส่วนของสายสีม่วง รฟม.จะลงทุนเอง ส่วนสายสีน้ำเงินทาง BEM ในฐานะผู้รับสัมปทานแจ้งว่ารับผิดชอบค่าใช้จ่ายไม่ไหว ซึ่ง รฟม.จะต้องเจรจาให้ BEM ดำเนินการ ขณะที่ยอมรับว่าการสั่งซื้ออุปกรณ์ยังมีความล่าช้าเนื่องจากติดปัญหาโรคโควิด-19 ส่งผลให้การทำงานเพื่อพัฒนาระบบตั๋วร่วมเพื่อรองรับบัตรข้ามระบบในระยะแรกยังทำได้ไม่เต็มที่ แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า จากที่ รฟม.จะต้องเสนอบอร์ดเพื่อขออนุมัติ ดำเนินการจัดทำคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน (Variation Order : VO) เพิ่มงานปรับปรุงหัวอ่านรถไฟฟ้าสายสีม่วง วงเงิน 140 ล้านบาท และสายสีน้ำเงิน วงเงินประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ถือว่าล่าช้า และทำให้การปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้บัตรแมงมุม บัตร MRT Plus ของ รฟม. และบัตร Rabbit ของ BTS สามารถใช้งานร่วมกันได้ข้ามระบบไม่ทันภายในปีนี้แน่นอน นอกจากนี้ การปรับปรุงหัวอ่านให้รองรับบัตรข้ามระบบได้นั้นยังมีประเด็นในการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้บัตรโดยสารข้ามระบบที่ยังไม่ได้ข้อสรุป อีกทั้งการใช้งานอาจทำให้ผู้โดยสารไม่ได้รับความสะดวก และไม่เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น กรณีเงินในบัตรไม่เพียงพอ จะยังไม่สามารถเติมเงินข้ามระบบได้ ทำให้ผู้โดยสารจะต้องจ่ายเงินสดร่วมด้วย หรือกรณีบัตรโดยสารสำหรับเด็ก ซึ่ง MRT กำหนด 3 อัตรา คือ เด็กที่มีความสูงไม่เกิน 90 ซม. และอายุไม่เกิน 14 ปี ใช้บริการฟรี เด็กที่มีความสูงตั้งแต่ 91-120 ซม. และอายุไม่เกิน 14 ปี ได้รับส่วนลดค่าโดยสาร 50% ส่วนรถไฟฟ้า BTS ไม่มีบัตรส่วนลดสำหรับเด็ก 50% เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หลังจากปรับปรุงหัวอ่านรองรับบัตรข้ามระบบ ซึ่ง รฟม.และ BTS จะต้องลงทุนหลายร้อยล้านบาทแล้ว ในระยะต่อไปจะต้องลงทุนเพื่อปรับปรุงเป็นระบบเป็น Account Based Ticketing หรือ ABT ระบบเปิด (Open Loop) ซึ่งใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ Master/…
22/09/2020 มาตรการใหม่ นั่งติดกันได้เต็มความจุ งดคุยบนบีทีเอสและรถไฟ กรมการขนส่งทางรางผ่อนคลายมาตรการป้องกัน COVID-19 ผู้โดยสารนั่งติดกันได้เต็มความจุ แต่ต้องงดคุย วันที่ 1 ก.ย. 63 กรมการขนส่งทางรางได้ออกประกาศ การผ่อนคลายมาตรการพึงปฏิบัติด้านการจัดการระบบขนส่งทางราง ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ตามข้อกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 31 ส.ค.2563 ข้อ 1 (3) ให้ระบบขนส่งสาธารณะทั้งทางบกและทางน้ำมีจำนวนผู้โดยสารได้เต็มตามความจุมาตรฐานของพาหนะ โดยขอให้ผู้ใช้บริการให้ความร่วมมือดังต่อไปนี้ สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ใช้บริการ ทั้งภายในสถานีและขบวนรถ งดการสนทนาและไม่หันหน้าเข้าหากันภายในขบวนรถ หลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงเวลาหรือในขบวนรถที่มีความหนาแน่นแออัด และพึงระวังการเบียดเสียดหรือการสัมผัสผู้อื่น หมั่นใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือทั้งก่อนและหลังการใช้บริการในระบบ และหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ใช้แอพพลิเคชั่นไทยชนะภายในสถานีและขบวนรถเผื่อกรณีสอบสวนโรค ข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่ 👈 #รถไฟฟ้า #มาตรการป้องกัน #BTS…
02/09/2020